ประวัติความเป็นมา 

เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน
สืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
“ทำงานเพื่อประชาชน” ร่วมกันตลอดไป

ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นโรงพยาบาลในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก่อสร้างขึ้นเพื่อ "เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เจริญพระชนมายุ ครบ 3 รอบ" โดยเริ่มโครงการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 และก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2542 พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานพิธีเปิด

ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นโรงพยาบาลขนาด 500 เตียง มีทั้งหมด 16 ชั้น พื้นที่ทั้งสิ้น 58,595 ตารางเมตร ตั้งอยู่เลขที่ 62 หมู่ 7 ถนนรังสิต - นครนายก อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก โทรศัพท์ (037) 395-085-6 และโทรสาร (037) 095-087

ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้บริการตรวจรักษาประชาชนโดยไม่มุ่งแสวงหาผลกำไรเป็นหลัก เพียงแต่ดำเนินกิจการในลักษณะพึ่งพาตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถาบันในการจัดการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ และนิสิตคณะอื่น ๆ ในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รวมทั้งเป็นแหล่งวิจัยศึกษาที่มีคุณภาพโดยเฉพาะการวิจัยในมนุษย์

บริการทางการแพทย์
ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ เป็นโรงพยาบาลขนาด 360 เตียง พื้นที่ทั้งสิ้น 58,595 ตารางเมตร มีพื้นมีพื้นที่การดำเนินงานด้านการให้บริการตรวจรักษาในเขตพื้นที่หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 4 ครอบคลุมทั้งสิ้น 8 จังหวัด นครนายก, สระบุรี, ปทุมธานี, นนทบุรี, อยุธยา, อ่างทอง, ลพบุรี, สิงห์บุรี

เริ่มเปิดดำเนินการรับรักษาผู้ป่วยนอก ตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 เป็นต้นมา โดยได้เปิดบริการรักษาด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ปัจจุบันเปิดบริการทั้งสิ้น 16 สาขา คือ สาขากุมารเวชศาสตร์, สาขาจักษุวิทยา, สาขาจิตเวชศาสตร์, สาขานิติเวชศาสตร์, สาขาพยาธิวิทยา, สาขารังสีวิทยา, สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน, สาขาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม, สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู, สาขาวิสัญญีวิทยา, สาขาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, สาขาโสด ศอ นาสิก ลาริงซ์วิทยา, สาขาศัลยศาสตร์, สาขาออร์โธปิดิกส์ สาขาอายุรศาสตร์, สาขาทันตกรรม

ในตอนแรก ทางโรงพยาบาลได้เปิดรับรักษาผู้ป่วยในจำนวน 30 เตียง (ช่วงแรก ๆ ที่เปิด รพ.ยังไม่มีการเก็บข้อมูล) จนได้ขยายศักยภาพการดำเนินงานเพิ่มขึ้นตามลำดับ เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของผู้รับบริการที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันสามารถรับรักษาผู้ป่วยในได้ทั้งสิ้น 500 เตียง โดยมีเตียงคนไข้หนัก (ICU อายุรกรรม) จำนวน 6 เตียง (ICU ศัลยกรรม) จำนวน 5 เตียง ห้องผ่าตัด 8 เตียง และจำนวนหอผู้ป่วยดังนี้

หอผู้ป่วยพิเศษ 8/1          หอผู้ป่วยสามัญ 8/2
หอผู้ป่วยพิเศษ 9/1          หอผู้ป่วยสามัญ 9/2
หอผู้ป่วยพิเศษ 10/1        หอผู้ป่วยสามัญ 10/2
หอผู้ป่วยพิเศษ 11/1        หอผู้ป่วยสามัญ 11/2
หอผู้ป่วยพิเศษ 12/1        หอผู้ป่วยสามัญ 12/2
หอผู้ป่วยพิเศษ 13/1        หอผู้ป่วยสามัญ 13/2
หอผู้ป่วยพิเศษ 14/1        หอผู้ป่วยสามัญ 14/2
หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤติเด็กเล็ก
หอผู้ป่วย ICCU
หอผู้ป่วย SEMI ICU MED
หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม